A Study of Bio-diversity in Art and Culture of Ethnic Groups from Communities Situated Around the Periphery of the Burmese Art Temples in Muang District of Lampang Province / การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพด้านศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในชุมชนรอบวัดศิลปะพม่า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Kanitkan Pankaew / กนิษฐ์กานต์ ปันแก้ว

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพด้านศิลปวัฒนธรรม โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research–PAR) เพื่อ 1) ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพด้านศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในชุมชนรอบวัดศิลปะพม่า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 2) พัฒนาฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพด้านศิลปวัฒนธรรม 3) สร้างชุดกิจกรรม เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพด้านศิลปวัฒนธรรม ประชากร คือ ประธานชุมชน กรรมการ และตัวแทนชุมชนวัดศิลปะพม่าในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 90 คน ดำเนินการวิจัย เป็น 3 ระยะ เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสำรวจบริบทชุมชน และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์เชิงเหตุผลเป็นหลัก ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ผลการวิจัย พบว่า 

1.  ชุมชนรอบวัดศิลปะพม่า มี 9 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนศรีชุม ชุมชนบ้านป่าขาม 1 ชุมชนบ้านดงไชย ชุมชนบ้านป่าขาม 2 ชุมชนท่ามะโอ ชุมชนลำปางคูณ ชุมชนบ้านป่าขามหล่าย-เหมือง ชุมชนบ้านหน้าค่าย และชุมชนหัวเวียง บริบทของชุมชน ส่วนใหญ่เป็นคนไทยและยังมีคนพม่าอาศัยอยู่บ้างแต่น้อยมาก ภาษาที่ใช้สื่อสารเป็นภาษาเหนือ ด้านอาหาร คนในชุมชนนิยมรับประทานอาหารเหนือ มีจุดเด่น คือ ใช้กระเทียมเป็นเครื่องปรุง ไม่ใส่กะทิ วัฒนธรรมการรับประทานอาหารนิยมนั่งโต๊ะและปูเสื่อ ด้านประเพณีส่วนใหญ่เป็นประเพณีของไทยแต่ยังคงมีประเพณีของพม่าที่หลงเหลืออยู่ คือ ตักบาตรเป็งปุ๊ด และประเพณีต่างข้าวซอมต่อ ส่วนด้านพฤติกรรมทางศาสนา คนในชุมชนไปวัดเพราะต้องการไปร่วมกิจกรรมตามประเพณีทางศาสนา ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไปวัด ได้แก่ ประเพณี วัย ความศรัทธาในพระสงฆ์ และความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ส่วนแนวทางในการผลักดันให้คนรุ่นใหม่เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา คือ การชักจูงลูกหลานให้เข้าวัด จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง และโรงเรียนต้องเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา

2.  ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพด้านศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ในชุมชนรอบวัดศิลปะพม่า จัดทำในรูปแบบเว็บไซต์ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลประวัติของวัดศิลปะพม่า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และข้อมูลด้านอาหาร ประเพณี และพฤติกรรมทางศาสนาของชุมชนไว้อย่างเป็นระบบ 

3.  ชุดกิจกรรมมีประสิทธิภาพ 88.66/87.30 และมีองค์ประกอบ ดังนี้ คำแนะนำสำหรับผู้ใช้ จุดประสงค์การเรียนรู้ บัตรเนื้อหาบัตรกิจกรรมเสริมความรู้ บัตรแบบทดสอบ บัตรแนวคำตอบ และแผ่นซีดี เสริมความรู้

 

คำสำคัญ: ศิลปวัฒนธรรม  กลุ่มชาติพันธุ์  วัดศิลปะพม่า

This research was the study of biodiversity and cultures by means of Participatory Action Research (PAR) in order to:-
1) study biodiversity and cultures of ethnic groups in communities situated in the periphery of the Burmese art temples in Muang Lampang District, Lampang Province; 2) develop a database on biodiversity aspects on arts and cultures; and 3) create a series of activities on biodiversity of arts and cultures. The population of 90 people, consisted of community leaders, committee, and representatives from Burmese art temple communities in Muang Lampang District, Lampang Province. Research procedure consisted of three phases. Tools were community context survey, and in-depth interviews. Data were analyzed using qualitative content analysis with reasoning analysis and descriptive statistics for quantitative data. Research findings were as follows:

1.  There were nine Burmese art temple communities consisting of Sri Chum, Ban Pa Kham 1, Ban Dong Chai, Ban Pa Kham 2, Ta Ma-O, Lampang Koon, Ban Na Kai, and Hua Wiang. Community context revealed that most of them were Thai whereas very few of them were Burmese. Northern dialect was used as a means of communication. The most popular cuisine was northern dishes. The outstanding was garlic as a flavoring, no coconut milk added. Eating culture was on tables and on mats. Most of the tradition was Thai customs, but there were some of Burmese remains such as ‘Peng Pud’ and ‘Tang Kwao Som Tor.’ When putting religious behavior into consideration, people in the communities went to the temples to take part in the religious traditions. Factors affecting those behaviors were old traditions, ages, and faith in monks and Buddhism. In order to convince young generations participating in the religious activities at the temples, families brought their children to the temples, communities continually held the religious activities and pushed students to join activities by their schools.

2.  Database on biodiversity and cultures of ethnic groups was managed and presented systematically by a website compiling information about Burmese art temples in Muang Lampang District of Lampang Province together with cuisine, traditions and religious behaviors of the communities.

3.  The effectiveness of the activity kit was 88.66/87.30 and contained a guide for users, learning objectives, content cards, testing cards, answer-key cards, extra-activities cards, and a supplementary CD.

 

Keywords: Arts and Cultures, Ethnic Groups, Burmese Art Temples


Keywords
ศิลปวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ วัดศิลปะพม่า Arts and Cultures, Ethnic Groups, Burmese Art Temples
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
กนิษฐ์กานต์ ปันแก้ว, Kanitkan Pankaew /. A Study of Bio-diversity in Art and Culture of Ethnic Groups from Communities Situated Around the Periphery of the Burmese Art Temples in Muang District of Lampang Province / การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพด้านศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในชุมชนรอบวัดศิลปะพม่า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 8, n. 2, p. 98-109, aug. 2015. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1027>. Date accessed: 24 apr. 2024. doi: https://doi.org/10.14456/jcdr.v8i2.1027.