The Management Effectiveness of Forensic Standard in Police Scientific Center 4 / ประสิทธิผลการบริหารจัดการมาตรฐานงานพิสูจน์หลักฐานของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Winai Namrach Kasemchart Naresssenie and Boonlert Pairindra / วินัย นามราช, เกษมชาติ นเรศเสนีย์ และบุญเลิศ ไพรินทร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการมาตรฐานงานพิสูจน์หลักฐานของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการมาตรฐานงานพิสูจน์หลักฐานของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 และ 3) เพื่อเสนอแนะการปรับปรุงการบริหารจัดการมาตรฐานงานพิสูจน์หลักฐานของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 การวิจัยนี้เป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 148 คน ที่เลือกจากประชากรตำรวจที่ปฏิบัติงานในศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 จำนวน 233 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และการสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนของประชากรและกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างการคำนวณตามสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการโดยสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่เลือกแบบเจาะจงจากนักวิทยาศาสตร์ระดับผู้บริหารในศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 จำนวน 19 คน และเป็นผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงานสอบสวน จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 29 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ประกอบด้วย การแปลการตีความและการวิเคราะห์

ผลการวิจัย พบว่า

1)  ประสิทธิผลการบริหารจัดการมาตรฐานงานพิสูจน์หลักฐานของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 2.78) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับสูงสุด (= 2.87) รองลงมา ได้แก่ ด้านทักษะความสามารถ (= 2.83) ด้านการทำงานเป็นทีม (= 2.80) ด้านความพึงพอใจ (= 2.78) และด้านมาตรฐาน (= 2.68) ตามลำดับ โดยด้านความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับสูงสุดนั้น เนื่องจากบุคลากรที่ปฏิบัติต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือชำนาญการ และด้านมาตรฐานอยู่ในระดับต่ำสุด เนื่องจากบุคลากรที่ทำงานในการตรวจพิสูจน์หลักฐาน ซึ่งต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น และเนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติมีไม่เพียงพอต่อปริมาณงานที่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ จึงทำให้มาตรฐานการปฏิบัติงานอยู่ในระดับต่ำสุด

2)  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการมาตรฐานงานพิสูจน์หลักฐานของศูนย์หลักฐาน 4 ประกอบด้วย 7 ประการ คือ 1) การประเมินผลนโยบาย 2) ค่าตอบแทน 3) แรงจูงใจการทำงาน 4) ลักษณะงาน 5) ความตรงประเด็นสอดคล้องกับความต้องการ 6) ความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และ 7) การตรวจสอบได้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวสามารถอธิบายความผันแปรของประสิทธิผลการบริหารจัดการมาตรฐานงานพิสูจน์หลักฐานของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 ได้ร้อยละเท่ากับ 75.70 (Adjusted R2 = 0.75) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ซึ่งปัจจัยด้านการประเมินผลนโยบาย อยู่ในระดับสูงสุดนั้น เนื่องจากเกณฑ์การประเมินผลการนำนโยบายไปปฏิบัติมีความครอบคลุมชัดเจน และปัจจัยด้านการตรวจสอบได้ อยู่ในระดับต่ำสุดนั้น เนื่องจากการปฏิบัติตามมาตรฐานงานพิสูจน์หลักฐาน 4 ผ่านการตรวจสอบทุกปีงบประมาณ แต่ก็พบข้อบกพร่องต่อการตรวจสอบอยู่ในระดับต่ำสุด

3)  ข้อเสนอแนะการปรับปรุงการบริหารจัดการมาตรฐานงานพิสูจน์หลักฐานของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 มีปัจจัย 3 ประการ  คือ 1) ปัจจัยนโยบาย ประกอบด้วย (1) การประเมินผลนโยบาย 2) ปัจจัยภายในองค์การ ประกอบด้วย (1) ลักษณะงาน (2) ค่าตอบแทน และ (3) แรงจูงใจในการทำงาน 3) ปัจจัยด้านมาตรฐานงานพิสูจน์หลักฐาน ประกอบด้วย (1) ตรงประเด็น สอดคล้องกับความต้องการ (2) ตรวจสอบได้ และ (3) เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และควรมีการดำเนินการที่สำคัญ 6 ประการ คือ (1) ควรมีกระบวนการอย่างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เพื่อจะได้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติต่อไป (2) ควรมีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกิจกรรมร่วมกันอย่างเปิดเผย โดยให้พิสูจน์หลักฐานจังหวัดที่อยู่ในอำนาจการบริหารมีส่วนร่วม โดยหน่วยเหนือสนับสนุนงบประมาณ ไม่ควรจะใช้นโยบายจากศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 กำหนดนโยบายแต่ฝ่ายเดียว (3) ควรมีนโยบายจัดสวัสดิการเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในศูนย์พิสูจน์หลังฐาน 4 และพิสูจน์หลักฐานจังหวัด เนื่องจากปัจจุบันการทำงานจะต้องทำงานในเชิงรุกเช่นเดียวกับภาคเอกชน ในกรณีที่ประชาชนมาติดต่อราชการขณะพักเที่ยงสามารถบริการให้กับประชาชนได้โดยไม่ต้องรอ หรือถ้ามีคดีเกิดขึ้นและได้รับการร้องขอจากพนักงานสอบสวน สามารถออกไปตรวจสถานที่เกิดเหตุได้ทันที (4) ควรจัดทำสมุดคู่มือในการปฏิบัติงานต่างๆ ในแต่ละกลุ่มงาน เพื่อให้เกิดมาตรฐานของงานและสามารถทำงานทดแทนกันได้ (5) ส่งเสริมสนับสนุนนโยบายด้านธรรมาภิบาล เพื่อสร้าง Best Practice ในทุกส่วนของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 และในเขตอำนาจของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 และ (6) ควรมีการสนับสนุนให้มีอุปกรณ์เครื่องมือในการตรวจพิสูจน์หลักฐานของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 ที่ได้มาตรฐานและทันสมัย 6 ประการ คือ (1) ควรมีกระบวนการอย่างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เพื่อจะได้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติต่อไป (2) ควรมีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกิจกรรมร่วมกันอย่างเปิดเผย โดยให้พิสูจน์หลักฐานจังหวัดที่อยู่ในอำนาจการบริหารมีส่วนร่วม โดยหน่วยเหนือสนับสนุนงบประมาณ ไม่ควรจะใช้นโยบายจากศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 กำหนดนโยบายแต่ฝ่ายเดียว (3) ควรมีนโยบายจัดสวัสดิการเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในศูนย์พิสูจน์หลังฐาน 4 และพิสูจน์หลักฐานจังหวัด เนื่องจากปัจจุบันการทำงานจะต้องทำงานในเชิงรุกเช่นเดียวกับภาคเอกชน ในกรณีที่ประชาชนมาติดต่อราชการขณะพักเที่ยงสามารถบริการให้กับประชาชนได้โดยไม่ต้องรอ หรือถ้ามีคดีเกิดขึ้นและได้รับการร้องขอจากพนักงานสอบสวน สามารถออกไปตรวจสถานที่เกิดเหตุได้ทันที (4) ควรจัดทำสมุดคู่มือในการปฏิบัติงานต่างๆ ในแต่ละกลุ่มงาน เพื่อให้เกิดมาตรฐานของงานและสามารถทำงานทดแทนกันได้ (5) ส่งเสริมสนับสนุนนโยบายด้านธรรมาภิบาล เพื่อสร้าง Best Practice ในทุกส่วนของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 และในเขตอำนาจของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 และ (6) ควรมีการสนับสนุนให้มีอุปกรณ์เครื่องมือในการตรวจพิสูจน์หลักฐานของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 ที่ได้มาตรฐานและทันสมัย

 

คำสำคัญ: ประสิทธิผล  การบริหารจัดการ  มาตรฐานงานพิสูจน์หลักฐาน

 

The objectives of this study were to 1) Study the management effectiveness of forensic standard in Police Scientific Center 4 2) Study the factors influencing the management effectiveness of forensic standard in Police Scientific Center 4 and  3) Provide recommendations for the improvement of the effectiveness of the administration of the forensic science standard of Scientific Crime Detection Center 4. This research was a mixed methods research which combined the quantitative and quantitative researches. The quantitative research was conducted by studying the samples of 148 respondents who were selected from the populations of 233 polices working at Police Scientific Center 4 by stratified random sampling and simple random sampling. The sample size was obtained by using Taro Yamane, s formula. The tool for data collecting was a 4 level rating scale questionnaire and the data were analyzed by percentage, means, standard deviation and stepwise regression analysis. The qualitative research was conducted by structured interviewing 29 key informants composed of 19 scientists working at executive level in Police Scientific Center 4 and 10 practitioners in investigation. The data were analyzed by using content analysis comprised translation, interpretation and analysis.       

The research findings were as follows:  

1) The management effectiveness of forensic standard in Police Scientific Center 4 in overall was at the high level (= 2.78), while considered in each aspect found that the highest mean was the aspect of creditability (= 2.87),  followed by the aspect of ability skill (= 2.83), The aspect of tram working (= 2.80), the aspect of satisfaction (= 2.78), and the aspect of standard (= 2.68), respectively. The highest means was the aspect of creditability because the personnel must be expert or proficiency while the aspect of standard was at the lowest level because shortage of personnel and work overload.       

2) The factors influencing the management effectiveness of forensic standard in Police Scientific Center 4 composed of (1) policy evaluation (2) compensation (3) motivation (4) job characteristic (5) the felted needs (6) proper current situation and (7) accountability. These factors could explain the variation of management effectiveness of forensic standard in Police Scientific Center 4 at 75.70 percent (Adjusted R2 = 0.7570) at a statistical significance of 0.01. The police evaluation was at the highest because criteria of policy implementation were clear and comprehensively and the factor of accountability was at the lowest because the operation must be inspect based on budgeting year.

3) The recommendations for the improvement of the administration of the forensic science standard of Scientific Crime Detection Center 4 included 3 factors: (1) Policy Factor including (1.1) Policy Assessment; (2) Organization’s Internal Factor including (2.1) Work Characteristics, (2.2) Payment, and (2.3) Work Motivation; and (3) Forensic Science Standard Factor including (3.1) Pertinence According to Needs, (3.2) Accountability, and (3.3) Relevancy to Current Affairs.  Furthermore, 6 important operational aspects should be implemented: (1) There should be a procedure to invite participation from all parties to bring the policy into practice; (2) There should be a policy to support and promote activities to be held together openly, with the participation of the authorized Provincial Scientific Crime Detection Office, 

the financial support of the superior office, and without enforcing the policy issued solely from Scientific Crime Detection Center 4; (3) There should be a policy to provide benefits for the officials working in Scientific Crime Detection Center 4 and Provincial Scientific Crime Detection Office because the operations nowadays are required to be proactive as in the private sector, and the officials should be enabled to provide services to the public during lunchtime so that people are not kept waiting as well as to conduct on-site investigations immediately after requests have been made by inquiry officials; (4) Operation manuals should be made for each work unit to create work standard and to enable work replacement;
(5) Policy of good governance should be promoted and supported to create Best Practice in all the work units of Scientific Crime Detection Center 4 and in its jurisdiction; and (6) Standard and modern equipment for forensic science should be acquired by Scientific Crime Detection Center 4.      

 

Keywords: Effectiveness, Management, Forensic Standard


Keywords
ประสิทธิผล การบริหารจัดการ มาตรฐานงานพิสูจน์หลักฐาน Effectiveness, Management, Forensic Standard
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
BOONLERT PAIRINDRA / วินัย นามราช, เกษมชาติ นเรศเสนีย์ และบุญเลิศ ไพรินทร์, Winai Namrach Kasemchart Naresssenie and. The Management Effectiveness of Forensic Standard in Police Scientific Center 4 / ประสิทธิผลการบริหารจัดการมาตรฐานงานพิสูจน์หลักฐานของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 8, n. 2, p. 71-87, aug. 2015. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1025>. Date accessed: 25 apr. 2024. doi: https://doi.org/10.14456/jcdr.v8i2.1025.