Exploratory Factor Analysis of Community Involvement and Development According to Corporate Social Responsibility in Thai Industrial Sector / การวิเคราะห์องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชนตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคอุตสาหกรรมไทย

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Phanida Chalangsut / พนิดา ชลังสุทธิ์

Abstract

ปัจจุบันสถานประกอบการอุตสาหกรรมมีบทบาทใกล้ชิดกับสังคมมากขึ้น เพราะลักษณะการดำเนินธุรกิจเริ่มส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของสังคมเพิ่มขึ้น จึงเริ่มให้ความสำคัญกับการพัฒนาชุมชนรอบข้างควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องศึกษาวิจัยเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้สถานประกอบการอุตสาหกรรมสามารถกำหนดทิศทางในการดำเนินงาน ส่งเสริม ช่วยเหลือและพัฒนาชุมชนตามประเด็นขององค์ประกอบที่วิเคราะห์ได้

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน ตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ของภาคอุตสาหกรรมไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (CSR-DIW) ตั้งแต่ปี 2551-2557 จำนวน 500 คน ใช้แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ เป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยพัฒนาแบบสอบถามจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000: 2010 Guidance on Social Responsibility) มาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (Corporate on Social Responsibility-Department of Industrial Work: CSR-DIW) ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม และองค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (The Global Reporting Initiative: GRI G4) จากนั้นนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้วยวิธีสกัดองค์ประกอบหลักและหมุนแกนด้วยวิธีวาริแมกซ์

ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชนนี้ ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ มีทั้งหมด 15 ตัวแปร ได้แก่ 1) การสร้างรายได้และการพัฒนาเทคโนโลยี มี 7 ตัวแปร 2) การมีส่วนร่วมของชุมชนและการศึกษา มี 4 ตัวแปร และ 3) การส่งเสริมสุขภาพและการจ้างงาน มี 4 ตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวนขององค์ประกอบที่สกัดได้ทั้งหมดร้อยละ 67.326 โดยที่องค์ประกอบที่หนึ่งสำคัญที่สุด ดังนั้น สถานประกอบการอุตสาหกรรมควรมุ่งเน้นไปที่การสร้างรายได้และการพัฒนาเทคโนโลยีในชุมชน สนับสนุนโครงการที่ส่งเสริมเทคโนโลยีชุมชน พัฒนาองค์ความรู้ ภูมิปัญญา เช่น การจดลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร การขึ้นทะเบียนสินค้า OTOP เป็นต้น

ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยในครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบในระหว่างกลุ่มประชากรที่แตกต่างกัน เช่น ขนาดขององค์กรขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ หรือตามประเภทอุตสาหกรรม โดยใช้การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยน (Measurement Invariance) ของโครงสร้างองค์ประกอบระหว่างกลุ่มประชากรที่ต่างขนาดกัน เพื่อให้มีความชัดเจน เฉพาะเจาะจงและสามารถประยุกต์ใช้ได้เฉพาะขนาดและประเภทอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม และควรศึกษาการวิเคราะห์องค์ประกอบที่เหมาะสมของมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (CSR-DIW) ในด้านอื่นๆ เพื่อให้ครบอีก 6 ด้านที่เหลือ นั่นคือ ด้านการกำกับดูแลองค์กร (Organizational Government) ด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights) ด้านการปฏิบัติด้านแรงงาน (Labour Practices) ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) ด้านการดำเนินงานอย่างเป็นธรรม (Fair Operating Practices) และด้านผู้บริโภค (Customer Issues)

 

คำสำคัญ: การพัฒนาชุมชน  การมีส่วนร่วมของชุมชน  ความรับผิดชอบต่อสังคม  การวิเคราะห์องค์ประกอบ  ภาคอุตสาหกรรมไทย

Currently, industrial entrepreneurs are closer to community because their business activities more directly affect to community livelihood. This is the reason why manufacturer give priority to community development together with business operation. Therefore, we should do a research in order to analyze factor of community involvement and development which is important factor in social responsibility standard and industrial entrepreneurs. This can determine business direction and develop community according to analyzed factor.

This research aimed at analyzing exploratory factors in community involvement and development in accordance with corporate social responsibility standard as practiced in the context of Thai industrial sector. Sample population consisted of 500 members of the CSR committees attached to the industrial establishments participating in the DIW-initiated CSR program (CSR-DIW) between B.E. 2551-2557. Five-level rating scale questionnaire, a research instrument, was derived from the CSR-related industrial standard (ISO 26000: 2010 Guidance on Social Responsibility), DIW-initiated CSR standard applied among industrial operators (Corporate Social Responsibility-Department of Industrial Work: CSR-DIW) and those regulated by the Global Reporting Initiative (GRI G4). Exploratory factor analysis was subsequently conducted by means of factor extraction and varimax orthogonal rotation.    

The research findings indicated that there were 3 factors and 15 variables in the community involvement and development, namely 1) income creation and technological development (7 variables); 2) community involvement and education (4 variables); and 3) health promotion and employment (4 variables). Based on the 67.326% variance components obtained from extraction, the first factor was proved most influential. Therefore, the industrial establishments should place emphasis on the followings: firstly, income generation and technological development in community; secondly, promotion of projects that utilize community technology; and thirdly, development of local knowledge and wisdom such as registration of copyright, patent and OTOP products.      

Recommendation for further research, researcher should perform a comparison among population which has the different characteristics e.g. size and type of business by using Measurement Invariance test on factor’s structure among population which has different size in order to make it clearer and be able to apply it to specific business. Apart from that, researcher should analyze other appropriate factors according to Corporate Social Responsibility Standard which cover all remaining 6 aspects i.e. Organizational governance, Human rights, Labour practices, Environment, Fair operating practices and Customer issues.

 

Keywords: Community Development, Community Involvement, CSR, Exploratory Factor Analysis, Thai Industrial Sector


Keywords
การพัฒนาชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน ความรับผิดชอบต่อสังคม การวิเคราะห์องค์ประกอบ ภาคอุตสาหกรรมไทย Community Development, Community Involvement, CSR, Exploratory Factor Analysis, Thai Industrial Sector
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
พนิดา ชลังสุทธิ์, Phanida Chalangsut /. Exploratory Factor Analysis of Community Involvement and Development According to Corporate Social Responsibility in Thai Industrial Sector / การวิเคราะห์องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชนตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคอุตสาหกรรมไทย. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 8, n. 2, p. 16-29, aug. 2015. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1020>. Date accessed: 29 mar. 2024. doi: https://doi.org/10.14456/jcdr.v8i2.1020.