Social Security of Rubber-based Agroforestry System towards Strengthening Rural Communities in Southern Thailand / ความมั่นคงทางสังคมของระบบวนเกษตรยางพาราสู่ความเข้มแข็งของชุมชนชนบทภาคใต้ของประเทศไทย

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

Vichot Jongrungrot / วิโชติ จงรุ่งโรจน์

Abstract

กว่าร้อยละ 90 ของสวนยางพาราในประเทศไทย เป็นสวนยางเชิงเดี่ยวและขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนของราคายาง ส่วนที่เหลือมีการทำสวนยางแบบวนเกษตรเพื่อลดความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ในขณะที่ด้านสังคมศาสตร์ของวนเกษตรยางพาราดูเหมือนจะถูกมองข้ามโดยเกษตรกรและนักวิชาการส่วนใหญ่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความมั่นคงทางสังคม ซึ่งเป็นคุณค่าที่ซ้อนเร้นของระบบวนเกษตรยางพาราในภาคใต้ของประเทศไทย และเชื่อมโยงสู่ความเข้มแข็งของชุมชนชนบทในอนาคต สำหรับระเบียบวิธีการวิจัยที่ใช้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการพัฒนาตัวชี้วัดความมั่นคงทางสังคม รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างที่เลือกมาแบบเจาะจง ได้แก่ เกษตรกรที่ทำวนเกษตรยางพาราในจังหวัดสงขลาและพัทลุง จำนวน 12 ราย และตรวจสอบกับเพื่อนบ้าน 36 ราย และผู้นำหมู่บ้าน 12 ราย แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่ทำวนเกษตรยางพาราทั้งหมด (1) มีความรู้ในการทำวนเกษตรยางพารามากขึ้นตั้งแต่ระดับมืออาชีพถึงระดับกึ่งทักษะ (2) ได้รับการยอมรับจากบุคคลและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และ (3) มีสุขภาพดีขึ้นเป็นผลจากการทำงานในสวนที่ร่มรื่น สดชื่น และได้บริโภคผลผลิตพืชร่วมยางแบบอินทรีย์หรือใช้สารเคมีทางการเกษตรน้อย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่บริจาคผลผลิตพืชร่วมยางระหว่างร้อยละ 8-80 ของปริมาณผลผลิตพืชร่วมยางที่ผลิตได้และเข้าร่วมในเครือข่ายส่งเสริมการทำวนเกษตรยางพารา กลุ่มตัวอย่างครึ่งหนึ่งเข้าร่วมกลุ่มในชุมชนที่ส่งเสริมการทำวนเกษตรยางพารา และกลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อยใช้และบริจาคผลผลิตพืชร่วมยางเพื่อใช้ในงานประเพณีต่างๆ นอกจากนี้ ความมั่นคงทางสังคมของเกษตรกรที่ทำวนเกษตรยางพารายังอาจช่วยสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนเกษตรในอนาคตได้ แต่ระดับของชุมชนเข้มแข็งนี้ขึ้นอยู่กับตัวเร่งต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวิจัยระบบวนเกษตรยางพารา นโยบายสาธารณะที่ส่งเสริมการทำวนเกษตรยางพารา การเพิ่มจำนวนเกษตรกรที่ทำวนเกษตรยางพารา การขยายพื้นที่วนเกษตรยางพารา และความหลากหลายของชนิดวนเกษตรยางพาราในแต่ละชุมชน ในอนาคตระบบวนเกษตรยางพาราอาจใช้เป็นมาตรการแบบประเพณีที่ช่วยเสริมโปรแกรมประจำด้านสวัสดิการทางสังคมของรัฐบาลในพื้นที่ชุมชนชาวสวนยางที่มีอยู่จำนวนมาก

 

คำสำคัญ: ความมั่นคงทางสังคม  ระบบวนเกษตรยางพารา  ชุมชนชนบท  ภาคใต้ของประเทศไทย

 

Over ninety percent of rubber plantations in Thailand are monocropping and depend on price uncertainty. The rest practice rubber-based agroforestry (RBA) to reduce economic risk and restore environmental conditions. Meanwhile, social science aspects of RBA seem to be overlooked by most farmers and academics. This study aims to assess social security, a hidden value of rubber-based agroforestry system (RBAS) in Southern Thailand, and link up with strengthening rural community in the future. Methodology adopted was qualitative research, indicators development of social security, in-depth interview with purposive samples, i.e. 12 sampled RBA farmers in Songkhla and Phatthalung and cross-check on 36 neighbors and 12 village leaders, and data analysis by content analysis technique. The results showed that all RBA farmers gained: (1) more RBA knowledge ranging 

from professional to semi-skill levels, (2) respects from individuals and related organizations, and (3) better health as a result of work in farms under shady and refreshing circumstances and consuming organic or low-agrichemical products from the associated crops. The majority of RBA farmers donated 8-80 % of the products for charity, and participated in networks promoting RBA. Half of RBA farmers joined their community groups promoting RBA. A few RBA farmers used and donated their products for traditional activities. The social security of RBA farmers might help strengthen their rural communities in many aspects but levels of the strong communities depended on some accelerators, especially RBAS research, RBA promoting public policy, RBA farmer number, RBA area expansion, and diversity of RBA types in each rural community. In the future, RBAS can be one of the traditional measures to supplement the routine social welfare programs of governments in many rubber cropping-based communities.

 

Keywords:  Social Security, Rubber-Based Agroforestry System, Rural Communities, Southern Thailand


Keywords
ความมั่นคงทางสังคม, ระบบวนเกษตรยางพารา, ชุมชนชนบท, ภาคใต้ของประเทศไทย, Social Security, Rubber-Based Agroforestry System, Rural Communities, Southern Thailand
Section
Research Articles

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
วิโชติ จงรุ่งโรจน์, Vichot Jongrungrot /. Social Security of Rubber-based Agroforestry System towards Strengthening Rural Communities in Southern Thailand / ความมั่นคงทางสังคมของระบบวนเกษตรยางพาราสู่ความเข้มแข็งของชุมชนชนบทภาคใต้ของประเทศไทย. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), [S.l.], v. 8, n. 2, p. 8-15, aug. 2015. ISSN 2985-0231. Available at: <https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1019>. Date accessed: 19 apr. 2024. doi: https://doi.org/10.14456/jcdr.v8i2.1019.