%A Manowang, Jiraporn %A Sepha, Wasana %D 2020 %T การพัฒนาภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมพื้นบ้านของผู้สูงอายุเพื่อเข้าสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย %K %X      งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านหัตถกรรมเครื่องจักสานพื้นบ้านของผู้สูงอายุ เพื่อเข้าสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปฏิบัติการ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้มีองค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน และครูภูมิปัญญาที่มีส่วนร่วมในขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง การจัดเวที การออกแบบผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ ดังนี้      1. ภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมเครื่องจักสานผู้สูงอายุสืบทอดการจักสานจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น มีอุปกรณ์ในการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานที่ไม่ยุ่งยาก ประกอบด้วย มีด เครื่องเรียด ไม้ไผ่ (ไม้บง ไม้ปอลูน ไม้ซาง) ทำเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน และประกอบพิธีต่าง ๆ ตามวัฒนธรรมของชาวล้านนา ได้แก่ ชะลอม ตะกร้า กล่องใส่กระดาษทิชชู พาน บายศรี ตุง โคมแขวน ผ้าฉลุ และยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้เสริมให้กับผู้สูงอายุโดยนำไปจำหน่ายในราคาที่ไม่แพง      2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาหัตถกรรมเครื่องจักสานของผู้สูงอายุตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ผู้วิจัยร่วมกับกลุ่มผู้สูงอายุ ครูภูมิปัญญา และผู้นำชุมชน วิเคราะห์ คัดสรรผลิตภัณฑ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา รวมทั้งสำรวจความต้องการของตลาด จากนั้นพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เพื่อเข้าสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์ขันโตกไม้ไผ่ เป็นการถักสานด้วยไม้ไผ่ พื้นของในโตกสานด้วยไม้ไผ่เป็นลายสองปูเป็นพื้น ทำขอบล่างขอบบนด้วยเส้นไม้ไผ่ ขาหรือตีนใช้ไม้ไผ่ดัดงอขึ้นลง แล้วยึดด้วยหวายให้มั่นคง 2) แจกันดอกไม้จากไม้ไผ่และเศษเส้นตอก และ 3) ดอกไม้จากไม้ไผ่ ประดิษฐ์เป็นเส้นที่ใช้ในการเปิดพิธีเนื่องในโอกาสต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายร้านค้าในชุมชน ที่ทำการกลุ่มผู้สูงอายุ สำหรับรองรับผู้ที่สนใจและคณะศึกษาดูงาน ทำให้ผู้สูงอายุมีอาชีพ และมีรายได้เพิ่มขึ้น คำสำคัญ: ผลิตภัณฑ์หัตถกรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ผู้สูงอายุ  มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน      The objective of this research was to study the wisdom and develop the traditional handicrafts of the elderly to enter to the standard of Wiang Nuea Sub-District, Wiangchai District, Chiang Rai Province. It was the qualitative and action research. The data was completed by using a purposive sampling technique from the elderly, experts in basket weaving, professional teachers participating in product development and 20 community leaders. The research instruments consisted of an in-depth interview form, participatory behavior observation form, a semi-structured interview form, forum, product design, product development using qualitative data analysis, and content analysis. The research was summarized based on the objectives as follows:      1. The traditional handicraft wisdom of the elderly was inherited from the ancestors from generation to generation. The tools were simple and they consisted of knife, “Krueng Ried” (a kind of tool for making a piece of bamboo equal), bamboo (Mai bong, Mai Porloon, Mai Sang). The handicrafts were used for Kitchen utensils and for ceremonies of Lanna culture such as “Chalom” (a round bamboo basket), baskets, toilet paper box, Baisri tray, Lanna Flag, handmade chandelier. These products also generated extra income for the elderly.      2. Regarding to the product development from the elderly’s wisdom of Wiang Nuea Sub-District, Wiangchai District, Chiang Rai Province, the research was conducted with the elderly group, professional teachers and the community leaders in terms of analyzing, selecting the products and sharing opinions with the experts for product development suggestions, including doing market demand survey and developing the best practice products to enter to the community product standard. The developed product models were: 1) Khan-Tok; a kind of wooden utensil in northern Thailand and the surface of bamboo is grown in denim and the bottom edge on a line with bamboo strips. The tray’s legs were bent down firmly fastened with rattan; 2) Flower vase; it was made with bamboo and pieces of bamboo strips; and 3) Bamboo Flowers; they were used as the decoration in opening the ceremonies. All these products were distributed in the community shops and the elderly center for serving the field trip study groups. Keywords : Handicraft Products, Traditional Wisdom, Elderly, Community Standard %U https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/Vol-13-No-1-2020-128-153 %J Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences) %0 Journal Article %R 10.14456/jcdr-hs.2020.10 %P 128-153%V 13 %N 1 %@ 2985-0231 %8 2020-02-05