TY - JOUR AU - Aekaputtra, Rasada PY - 2019 TI - คุณสมบัติของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ JF - Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences); Vol 12 No 1 (2562): January-March 2019 DO - 10.14456/jcdr-hs.2019.9 KW - N2 -      งานวิจัยเรื่อง “คุณสมบัติของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” นี้ มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยได้กำหนดถึงคุณสมบัติของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมไว้เป็นประการใดบ้าง และมีมาตรการหรือข้อกำหนดต่างๆ เป็นการคุ้มครองสิทธิแก่คู่กรณีทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดีเพียงพอแล้วหรือไม่ รวมทั้งหลักกฎหมายดังกล่าวยังมีประเด็นสำคัญอันใดอีกหรือไม่ที่ควรจะนำมาบัญญัติเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมโดยได้มีการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ เพื่อพิจารณาว่ากฎหมายประเทศใดมีความเหมาะสม และมีผลบังคับรวมถึงการนำมาปรับใช้ในทางปฏิบัติดีกว่ากันอย่างไร อีกทั้งเพื่อพิจารณาถึงผลดีผลเสียต่างๆ รวมถึงข้อบกพร่องอันอาจจะมีขึ้นของกฎหมายไทยในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวต่อไป      ประเด็นสำคัญที่ผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์ ณ ที่นี้ คือ คุณสมบัติเกี่ยวกับอายุของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม และอายุห่างระหว่าง ผู้จะรับบุตรบุญธรรมกับผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งผู้วิจัยได้วิเคราะห์ให้เห็นว่ากฎหมายไทยได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้กฎหมายเกี่ยวกับการรับบุตรบุญธรรมมีความชัดเจนและยืดหยุ่นมากขึ้นตลอดมา      แต่อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยพบผลวิจัยในประเด็นปัญหาดังกล่าวว่ากฎหมายไทยยังมีข้อบกพร่องอยู่บางประการ ที่ควรจะพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในประเด็น “คุณสมบัติของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม” ให้มีความชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น 1) ควรแก้ไขเพิ่มเติมเกณฑ์อายุขั้นต่ำของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม 2) ควรแก้ไขอายุห่างระหว่างผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมและผู้จะรับบุตรบุญธรรม เป็นต้น      ประเด็นปัญหาต่างๆ ในวิจัยฉบับนี้ บางกรณียังไม่เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ แต่การพยายามตั้งประเด็นปัญหาต่างๆ ขึ้นมา อาจจะเป็นการจุดประกายความคิดให้ทุกฝ่ายร่วมกันพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขการรับบุตรบุญธรรมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป คำสำคัญ: คุณสมบัติของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม  บุตรบุญธรรม  ผู้รับบุตรบุญธรรม      This research study, entitled “Qualifications of a potential adopted child under the Civil and Commercial Code”, aims to study the requirements for adoption under Thai Civil and Commercial Code. We look forward to analyze the effectiveness of the laws and policies on adoption including the rights and duties of all stakeholders. Therefore, the purposes of this study are not only limit to analyze the legal impacts of adoption in Thailand but try to explore a possibility to revise Thai adoption law as well. In this regard, it is quite necessary to adopt the methodology based on comparative law studies and should try to find out an appropriate model law in order to propose a new amendment on the qualification requirements of an adopted potential child under Thai Civil and Commercial Code. It should be noted as well that we need to know the loophole of law and understand the legal deficiency of Thai existing law in order to propose an appropriate amendment on the age requirements of a potential adopted child including the required age difference between the adopter and the adoptee.      In brief, we can conclude that Thai adoption law at present day has some weak points and need to be amended as soon as possible by the authority by taking account on the minimum age requirement of the adopted children.      Finally, we think that further research study on the best interests of the adopted child would be useful for the protection on the rights of the child on this matter. Keywords: Qualifications of a Potential Adopted Child, Adopted Child, Adoptive Parent UR - https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/Vol-12-No-1-2019-109-134