%A Leerattanakorn, Nisachon %D 2018 %T ความสุขกับรายได้เปรียบเทียบ: การรับรู้และความเป็นจริง %K %X      การศึกษาเรื่องความสุขได้รับความสนใจมากในช่วงที่ผ่านมา วิธีวัดความสุขที่นิยมใช้กันมากวิธีหนึ่ง คือ วิธีวัดความสุขเชิงอัตวิสัยตามทัศนะของ Kahneman การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสุขกับรายได้เปรียบเทียบ โดยเป็นการวิเคราะห์ทั้งรายได้เปรียบเทียบที่แท้จริง (Real Relative Income) และรายได้เปรียบเทียบในเชิงการรับรู้ (Attitude Toward Relative Income) โดยรายได้เปรียบเทียบในเชิงการรับรู้ ศึกษาในสองมุมมอง คือ รายได้เปรียบเทียบในเชิงการรับรู้เมื่อเปรียบเทียบกับตนเอง และรายได้เปรียบเทียบในเชิงการรับรู้เมื่อเปรียบเทียบกับสังคม การศึกษาใช้แบบจำลองโลจิทแบบเรียงลำดับ (Ordered Logit Model) ผลการศึกษา พบว่า ความสุขของกลุ่มตัวอย่างขึ้นอยู่กับทั้งรายได้เปรียบเทียบที่แท้จริง และรายได้เปรียบเทียบในเชิงการรับรู้ โดยรายได้เปรียบเทียบในเชิงการรับรู้มีผลต่อความสุขมากกว่ารายได้เปรียบเทียบที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม งานศึกษาไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความสุขกับรายได้เปรียบเทียบในเชิงการรับรู้เมื่อเปรียบเทียบกับสังคม ดังนั้้น ในเชิงนโยบายแล้ว นอกจากภาครัฐควรจะทำการยกระดับรายได้ที่แท้จริง การดำเนินนโยบายที่ลดความโลภ สร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ และเพิ่มการนับถือตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนระดับความต้องการรายได้ในเชิงการรับรู้ให้เหมาะสม ก็จะทำให้ความสุขในการดำเนินชีวิตเพิ่มขึ้นด้วย คำสำคัญ: ความสุข  รายได้เปรียบเทียบในเชิงการรับรู้  รายได้เปรียบเทียบที่แท้จริง  รายได้เปรียบเทียบ      Research into happiness increased recently. Kahneman’s objective measure of life self-evaluation is a popular measure of happiness. The objective of this study was to explore the relationship between happiness and relative income. Income is classified into two, namely, real relative income and attitude toward relative income. Attitude toward relative income can be divided into attitude toward income aspiration and attitude toward mean income in community. This study applied the Order Logit Model and found that happiness depends on perception and reality. Aspirational attitude toward relative income is more important in determining individual happiness than real relative income. By contrast, attitudes to relative income were insignificant compared with other variables. The policy implication of this study is that governments should not only increase real income, but should also support income perception, such as by reducing greed, increasing mental strength, and upgrading self-esteem, to increase happiness. Keywords: Happiness, Attitude toward Relative Income, Real Relative Income, Relative Income %U https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/Vol-11-No-4-2018-52-63 %J Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences) %0 Journal Article %R 10.14456/jcdr-hs.2018.20 %P 52-63%V 11 %N 4 %@ 2985-0231 %8 2018-12-26