TY - JOUR AU - Puangkhajorn, Supak AU - Worain, Chonchakorn AU - Kornpuang, Anucha PY - 2018/09/25 TI - Development of Internal Quality Assurance Model for Basic Education Institutions Using Results-Based Management JF - Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences); Vol 11 No 3 (2561): July-September 2018DO - 10.14456/jcdr-hs.2018.10 KW - N2 -      การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนการทดลองเป็น 3 ขั้นตอน ตอนที่ 1 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างในตอนที่ 1 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 394 โรงเรียน ตอนที่ 2 เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยวิธีการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 ท่าน และตอนที่ 3 เพื่อประเมินสถานศึกษาตามรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยวิธีการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) และสถานศึกษาที่มีผลการประเมินภายนอกไม่ผ่านการประเมิน จำนวน 6 โรงเรียน การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา      ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยวิธีการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ที่เหมาะสมประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การวางแผนกลยุทธ์ขององค์การ 2) การกำหนดรายละเอียดของตัวชี้วัดผลดำเนินงาน 3) การจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 4) การจัดการความเสี่ยง 5) การวัดและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ 6) การใช้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ 7) การรักษาปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 8) การให้รางวัลตอบแทน ผลการประเมินรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยวิธีการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ พบว่า โครงสร้างขององค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความชัดเจน ความง่ายต่อการนำไปใช้ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และผลการประเมินสถานศึกษาตามรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยวิธีการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ พบว่า สถานศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) และกลุ่มสถานศึกษาที่มีผลการประเมินภายนอกไม่ผ่านการประเมิน มีคุณภาพในการดำเนินงานตามโครงสร้างรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยวิธีการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ผลการประเมินตามผลสะท้อนด้านคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้และด้านคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพ  การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์  การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา        This research study was set up into three stages. Stage 1 studied states and problems of quality assurance in basic education institutions. The samples were 394 school administrators and teachers responsible for quality assurance within the institutions under the Office of the Basic Education Commission. Stage 2 constructed and developed a model of quality assurance within basic education institutions by means of performance management, including 21 experts. Stage 3 evaluated schools according to the model of quality assurance in basic education institutions by means of performance management, with six of the best practice schools and ones with failed appraisals. The data was collected by an analysis of the query documents and questionnaires. The quantitative data was analysed by using descriptive statistics: frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, median, interquartile range and qualitative data were analysed using content analysis.      The research found that the basic quality assurance model within basic education institutions with the appropriate management approach consisted of eight components: 1. Organizational Planning; 2. Determining the details of performance indicators; 3. Quality Management Development; 4. Risk Management; 5. Measurement and Quality Monitoring; 6. Effective use of information; 7. Maintain and improve the quality of education continuously; and 8. Reward. According to the results, it was found that the structure of the composition was the most appropriate. When considering sub-components of suitability, possibility, clarity, ease of use, they were at High to Very High levels. In terms of evaluation results of the institutions through the model of quality assurance in the basic education institutions by means of performance management, it was revealed that the best practice groups and those with failed appraisals had the quality in implementation of the basic structure on quality assurance in basic education institutions by means of results-based management. The results of the evaluation on the quality of learners according to the learning standards overall were at a high level. Keywords :   Development of Quality Assurance Model, Results-Based Management, Internal Quality Assurance of Basic Education Institutions UR - https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/Vol-11-No-3-2018-162-177