TY - JOUR AU - Kobjaiklang, Chulaporn PY - 2018 TI - A Study of Competitiveness Performances, Problematic Factors on Doing Business and Opportunities of Industrial Expansion in ASEAN Markets JF - Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences); Vol 11 No 3 (2561): July-September 2018 DO - 10.14456/jcdr-hs.2018.15 KW - Competitiveness, Problematic Factors for Doing Business, Core Industry, Potential Industry, ASEAN Countries N2 -      การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย จากปี ค.ศ.2012–2017 2) เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ก่อปัญหาในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มประเทศไทย ปี ค.ศ.2012-2016 3) เพื่อศึกษาปัญหาของประเทศไทยในอุตสาหกรรมหลักเดิม และกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีโอกาสพัฒนาเพิ่มมูลค่าสามารถขยายตลาด และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการเตรียมความพร้อมสำหรับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและความร่วมมือในกลุ่มอาเซียน โดยศึกษาจากเอกสาร (Document Research) ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative) ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จากผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้กำหนดนโยบาย 2) กลุ่มผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ 3) กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและนักวิชาการ และ 4) กลุ่มผู้ประกอบการและภาคเอกชน 2 กลุ่มอุตสาหกรรม ผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) รวมทั้งสิ้น 20 คน      ผลการศึกษาความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยจาก Global Competitiveness Report ของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) จาก 5 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มดีขึ้นจากอันดับที่ 38 ในปี ค.ศ.2012-2013 มาปัจจุบันปี ค.ศ.2016-2017 ได้รับการจัดอันดับที่ 34 ด้านผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อประชากร (GDP per Capita) จากการศึกษาย้อนหลัง 5 ปี มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก ปี ค.ศ.2012-2017 พบว่า ปี ค.ศ.2016-2017 สูงสุดที่ 5,742.30 เหรียญสหรัฐ ยังไม่สามารถก้าวพ้นจากกลุ่มประเทศที่อาศัยปัจจัยด้านประสิทธิภาพเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Efficiency-Driven Economies) ประเทศไทยยัง “ติดกับดักรายได้ปานกลาง” ปัจจัยสำคัญที่ก่อปัญหาในการดำเนินธุรกิจของประเทศไทย WEF (GCI 2012–2016) ซึ่งทำการศึกษา 5 ปีย้อนหลังจากปี 2012-2016 พบว่า ประเทศไทยมีปัญหาหลักมาจาก 1) ความไม่เสถียรภาพของรัฐบาล 2) ระบบราชการไม่มีประสิทธิภาพ 3) คอรัปชั่น 4) ความไม่แน่นอนของนโยบาย 5) ความสามารถด้านนวัตกรรมไม่ดีพอ และ 6) แรงงานขาดการศึกษา จากการศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมทั้ง 2 กลุ่มเป็นกลุ่มที่มีโอกาสพัฒนาเพิ่มมูลค่าและขยายตลาด ประเทศไทยได้ประโยชน์จากตลาดอาเซียน (ASEAN) ด้านข้อตกลงทางการค้า ด้านเทคโนโลยี และภาพรวมด้านความสามารถในการแข่งขัน ประเทศไทยจำเป็นต้องหาแนวทางและทางเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมหลักของไทยที่มีโอกาสพัฒนาเพิ่มมูลค่าสามารถขยายตลาด ประกอบด้วย 1) อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และ 2) อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งจากการศึกษาแนวทางและทางเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม ผลที่ได้จากการศึกษาทั้งกลยุทธ์ในอุตสาหกรรมรายย่อย (Micro) และทางเลือกในภาพรวม (Macro) ไทยควรเลือกใช้กลยุทธ์เชิงรุก (Aggressive Strategy) เนื่องจากประเทศไทยมีความพร้อมด้านการผลิตและมีทำเลที่ตั้งเป็นศูนย์กลางเชิงภูมิศาสตร์ของภูมิภาคอาเซียน คำสำคัญ:  ความสามารถในการแข่งขัน  ปัญหาในการดำเนินธุรกิจ  อุตสาหกรรมหลักเดิม กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีโอกาสพัฒนา  กลุ่มประเทศอาเซียน      The purpose of this research was to: 1) study Thailand’s competitiveness performance ranking from 2012-2017; 2) examine the country’s problematic factors for doing business from 2012–2016; 3) investigate its old core industrial problems and opportunities in expanding markets; and 4) explore guidelines in enhancing national competitiveness and collaboration among ASEAN countries. The study was based on Documentary Research and Qualitative Research by conducting In-depth interview and Focus Group from qualified person as key informants among four groups: policy-making group, implementing group, stakeholder & academics group and entrepreneur & private sector group, including two potential industries with 20 persons.      In the Global Competitiveness Report of the World Economic Forum, Thailand’s competitiveness over the past five years was improved from the 38 th in 2012-2013, and ranked 34 th in 2016-2017. The GDP trend per capita of Thailand has been steadily rising during the past five years (2012-2017), and the peak reached $ 5,742.30 in 2016-2017. However, it is still out of the group of countries that rely on performance are Efficiency-Driven Economies, well-known “Middle Income Trap.” The most problematic factors on doing business of Thailand from over the past five years 2012-2016 from World Economic Forum (GCI 2012–2016) are: 1) Government Instability; 2) Inefficiency Government Bureaucracy; 3) Corruption; 4) Policy Instability; 5) Insufficient Capacity to Innovation; and 6) Inadequately Educated Workforce. The overall of second-core industrial groups in Thailand have opportunities to develop value and expansion markets by taking benefits in ASEAN markets form trade agreement, technology and competition. Thus, an alternative strategy in developing Thai industries to achieve economic competitiveness, get opportunities to develop value added and expanding markets is in the second-core industries: 1) Clothing and textile industry and 2) Gem and jewelry industry. As a result of the study of both micro and macroeconomic strategies, Thailand should adopt an Aggressive Strategy because Thailand has potentials for production and location as the geographical hub in ASEAN. Keywords:  Competitiveness, Problematic Factors on Doing Business, Old Core Industry, Potential Industry, ASEAN Countries UR - https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/Vol-11-No-3-2018-139-151