TY - JOUR AU - Nuangchalerm, Prasart PY - 2018/06/14 TI - สะเต็มศึกษากับสไตล์การเรียนรู้ตามแนวคิด Kolb JF - Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences); Vol 11 No 2 (2561): April-June 2018 KW - N2 -      บทความนี้มีความมุ่งหมายเพื่อนำเสนอแนวคิดการเรียนการสอนแนวทางสะเต็มศึกษาที่สอดคล้องกับสไตล์การเรียนรู้ของ Kolb ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในการนำแนวคิดนี้ไปปรับประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนตามบริบทที่ควรจะเป็น ด้วยสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในศตวรรษที่ 21 ได้รับอิทธิพลจากการปฏิวัติทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ความรู้จึงขยายตัวและส่งผ่านสู่สังคมได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว จึงก่อให้เกิดการปรับตัวของผู้เรียนต่อการเข้าถึงแหล่งข้อมูล สามารถสืบเสาะค้นคว้าหาความรู้และสร้างเสริมประสบการณ์ได้อย่างหลากหลายรูปแบบ แนวคิดการจัดการเรียนการสอนจึงต้องทันสมัยและเท่าทันกับสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาบูรณาการเข้ากับชีวิตจริง คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ และอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข การเรียนการสอน เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษาเป็นวิถีของการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่พัฒนาผู้เรียนในลักษณะองค์รวม ทำให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางการเรียนอย่างสมดุล ผู้เรียนมีบทบาทในการสร้างความรู้ โดยต้องคิดเอง ลงมือทำ ตรวจสอบความรู้ และสรุปเป็นมโนทัศน์ของตนเอง ผู้สอนมีบทบาทในการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สร้างแรงบันดาลใจในการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเองตามสไตล์การเรียนรู้ คำสำคัญ: การเรียนรู้  สะเต็มศึกษา  การบูรณาการ  ทักษะที่จำเป็น  ความรู้  สไตล์การเรียนรู้      This article aims to present the concept of STEM education and Kolb’s learning styles beneficial to the application of teaching and learning methods in accordance with instructional contexts. As social and cultural contexts in the 21st century are influenced by the revolution of information technology, knowledge is now expanded and transferred rapidly into society. Learners therefore need to adapt themselves to access information, search for knowledge and gain various experiences. The concept of instructional practices also requires more up-to-date and compatible with changing learning environments. Learners, moreover, should be able to integrate acquired knowledge with real life as well as knowing how to think, act, solve problems and live in society happily. STEM education is a holistic approach which makes learners meet a balance of learning and have responsibility to construct the body of knowledge through self-thinking, doing, evaluating and concluding to gain their own concept. In STEM education, teachers play an important role in creating an atmosphere contributed to learning and giving a learning inspiration in order to help learners discover knowledge by themselves with their learning styles. Keywords : Learning, STEM Education, Integration, Necessary Skills, Knowledge, Learning Styles UR - https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/2026