TY - JOUR AU - Supasit Tana, ศุภสิทธิ์ ต๊ะนา / PY - 2017/08/07 TI - การประเมินแผนแม่บทเพื่อกำหนดทิศทางแผนงานโครงการพัฒนา และรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ/The Assessment of a Master Plan of The Royal Initiated Project for Directing Project Plan, Development and Promotion of the use of vetiver JF - Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences); Vol 10 No 3 (2560): July-September 2017 KW - โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, หญ้าแฝก, แผนแม่บท, การประเมิน, การวิจัยแบบผสมผสาน, Royal Initiated Project, Vetiver, Master Plan, Assessment, Mixed Methodology Research N2 -      แผนแม่บทการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉบับที่ 1 เริ่มตั้งแต่ปี 2536 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการใช้แผนแม่บท ฉบับที่ 5 เป็นกรอบขับเคลื่อนการดำเนินงานและกำลังจะสิ้นสุดลง ทางสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการประเมินแผนแม่บทเพื่อกำหนดทิศทาง ผลการดำเนินงานของหน่วยงาน ตลอดถึงข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแผนแม่บท ฉบับที่ 6      การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทิศทางแผนงานโครงการการดำเนินการของหน่วยงาน 2) ศึกษาผลการดำเนินการและสภาพปัญหาของหน่วยงาน และ 3) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อกำหนดทิศทางแผนแม่บทฉบับที่ 6 ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิทยาการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology Research: MMR) ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสำรวจ จำนวน 31 หน่วยงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ (Frequency) และการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน จำนวน 54 คนและการสนทนากลุ่มกับคณะที่ปรึกษา จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สังเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis and Synthesis) ตามแนวทางการดำเนินงานแผนแม่บทฉบับที่ 5 (2555-2559) พื้นที่ในการวิจัย คือ 17 จังหวัดภาคเหนือ ระยะเวลาการทำวิจัย 1 ปี      ผลการวิจัย พบว่า ทิศทางแผนงานโครงการของหน่วยงาน เน้นไปที่งานด้านการศึกษาวิจัย ด้านส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ และด้านการจัดการองค์ความรู้ ส่วนผลการดำเนินการของหน่วยงาน เน้นไปที่งานด้านการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ ด้านการศึกษาวิจัย และด้านการจัดการองค์ความรู้ ส่วนสภาพปัญหาที่พบ ได้แก่ การบริหารจัดการงานวิจัย การขาดแคลนบุคลากรด้านการวิจัย การบูรณาการวิจัยร่วมกัน การถ่ายทอดความรู้ ขาดความเข้าใจหญ้าแฝก สภาพแวดล้อมและภัยพิบัติ และการบริหารจัดการงบประมาณ ส่วนข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่ การกำหนดประเด็นและเป้าหมายเฉพาะแต่ละพื้นที่ การทำวิจัยต้องมุ่งเน้นประโยชน์ในพื้นที่จริง โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมในภาค      อุตสาหกรรม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานของหน่วยงานร่วมกัน ทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติในพื้นที่ และมีหน่วยงานหลักในแต่ละพื้นที่เพื่อการประสานการทำงานเชิงบูรณาการร่วมกัน      The first master plan of the Royal project to develop and promote the development and use of Vetiver was initiated in 1993. The fifth master plan is currently being implemented as the last phase of evaluation by the Office of the Royal Development Project Board (RDPB) to formulate useful suggestions for the implementation of the sixth master plan.      This study focuses on three aspects of the master plan: 1) the direction of the project’s operation plan, 2) the outcomes and possible problems of the project, and 3) the organization of proposed policy guidelines for the sixth master plan. The study area covers 17 provinces in the North over a duration of one year. Mixed methodology was used and frequency of quantitative data was surveyed from 31 units related to the Royal Initiated Project. Qualitative data from the analysis, a synthesis of interviews with 54 operating staff and a group discussion with 5 project consultants were conducted.      The study revealed that the direction of the project’s operation plan should prioritize research, followed by promotion and public relations and knowledge management tasks. In contrast, the study revealed the project’s goals should focus on promotion and public relations, research, and knowledge management, respectively. The research problems of the project were insufficient research personnel, lack of integration of personnel, ineffective research management, lack of cooperation between the related organizations, problems of knowledge transferring, difficulties in handling environment and disaster, and issues of budget management as well as lack of understanding about Vetiver. The study suggested that particular areas should set up a practical research in accordance with local needs particularly on environmental and industrial issues. Moreover, it was observed knowledge exchange in policy and operation level was necessary for cooperative working of the related organizations. Lastly, there should be a host organization in the research area in order to integrate all components of the project. UR - https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1943