TY - JOUR AU - Pakanta, Intira AU - Lincharearn, Aumporn AU - Toolyodpun, Siriluk PY - 2018/03/20 TI - การพัฒนารูปแบบการประเมินผลลัพธ์การจัดการความปวดในโรงพยาบาลตติยภูมิ JF - Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences); Vol 11 No 1 (2561): January-March 2018 KW - การประเมินผลลัพธ์การจัดการความปวด รูปแบบการประเมินผลลัพธ์การจัดการความปวด ความตรงของการประเมินผล N2 -      การประเมินผลลัพธ์การจัดการความปวดที่ดี ควรให้ผลการประเมินที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้นำผลการประเมินไปใช้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินผลลัพธ์การจัดการความปวดในโรงพยาบาลตติยภูมิ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาอุปสรรค และความต้องการรูปแบบการประเมินผลลัพธ์การจัดการความปวดในโรงพยาบาลตติยภูมิ โดยการศึกษาเอกสารของโรงพยาบาล สังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในแผนกศัลยกรรม สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และตอบแบบสอบถาม รวม 30 คน 2) สร้างรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบ แล้วนำรูปแบบไปตรวจสอบความเหมาะสม ความสอดคล้อง และความเป็นไปได้ของรูปแบบ รวมทั้งตรวจสอบความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และผู้ใช้รูปแบบกลุ่มผู้บริหารทางการพยาบาลและพยาบาลวิชาชีพ รวม 22 คน 3) ทดลองใช้รูปแบบกับผู้ป่วยศัลยกรรมกลุ่มทดลองจำนวน 16 คน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม จำนวน 16 คน และ 4) ประเมินผลรูปแบบจากผู้ใช้รูปแบบทุกกลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารทางการพยาบาล พยาบาลวิชาชีพ และผู้ป่วยศัลยกรรม รวม 42 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบสองกลุ่มอิสระ ไคสแคว์ และสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์      ผลการศึกษา พบว่า      1) รูปแบบการประเมินผลลัพธ์การจัดการความปวดในโรงพยาบาลตติยภูมิรูปแบบเดิมมี 2 ประเภท คือ การประเมินผลลัพธ์การจัดการความปวดระดับบุคคลและระดับหอผู้ป่วย โดยพบสิ่งคุกคามความตรงของการประเมินผลลัพธ์การจัดการความปวดทั้งด้านผู้ประเมิน วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน การตีความผลการประเมิน การนำเสนอผลและการใช้ผลการประเมิน      2) รูปแบบใหม่ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบที่เน้นมาตรฐานการประเมินด้านความถูกต้องแม่นยำเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือแก่ผู้นำผลการประเมินไปใช้ว่าการประเมินผลลัพธ์การจัดการความปวดนั้นมีความเป็นจริง ถูกต้องแม่นยำ เหมาะสม และครอบคลุม รูปแบบนี้มี 3 ประเภท คือ การประเมินผลลัพธ์การจัดการความปวดระดับบุคคล การประเมินผลลัพธ์การจัดการความปวดระดับหอผู้ป่วย และการประเมินความตรงของการประเมินผลลัพธ์การจัดการความปวด      3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนความตรงของการประเมินผลลัพธ์การจัดการความปวดสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05      4) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ มีความคุ้มค่าอยู่ในระดับมากและสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ใช้รูปแบบอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก      คำสำคัญ : การประเมินผลลัพธ์การจัดการความปวด  รูปแบบการประเมินผลลัพธ์การจัดการความปวด  ความตรงของการประเมินผล      The success of pain management requires accurate and trustworthy outcome evaluation method which will provide ultimate benefits for the outcome users. The purpose of this study was to develop a model of pain management outcome evaluation in a Tertiary hospital. Research method consisted of 4 phases: 1) Studying about current situation, obstacles, and needs for a model of pain management outcome evaluation in a Tertiary hospital, which was done through: reviewing of hospital documents; non-participant observation in a surgery department; and administering questionnaires as well as interviewing in 30 stakeholders, 2) developing a model and checking for its propriety, compatibility and feasibility; in this phase, the manual was created and tested for its appropriation by 5 experts, 22 users, including nurse administrators and registered nurses, 3) implementing the model in 16 surgical patients comparing with 16 patients in control group, 4) testing the model by 42 users including nurse administrators, registered nurses, and surgical patients. Qualitative data were analyzed using content analysis. Quantitative data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, independent t-test, Chi-square test, and Mann-Whitney test.      The finding showed that      1) There were 2 old models of pain management outcome evaluation in a Tertiary hospital: at an individual level, and at an inpatient-ward level. Threats to validity of outcome evaluation of pain management stem from evaluators, evaluation methods, evaluating tools, outcome interpretation, and presentation of evaluation.      2) The new model developed by the researcher emphasized the standard of accurate evaluation in order to create trust among the model users with correct, precise, appropriate and inclusive outcome evaluation. The model included 3 parts: an outcome evaluation model of pain management at an individual level, at an inpatient-ward level, and validation of outcome evaluation of pain management.      3) The results of model implementation revealed that the validity score of outcome evaluation of pain management among experimental group was statistically higher than that of the controlled group at .05.      4) The results of model testing showed that the model was appropriate for using, worthwhile at high level, and satisfy the users at moderate to high level. Keywords:  Pain Management Outcome Evaluation, The Model of Pain Management Outcome Evaluation, The Validity of the Evaluation UR - https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1864