TY - JOUR AU - Phungphol, Wilai PY - 2018 TI - การพัฒนาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแบบคุณลักษณะบัณฑิต ต่อความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิตในอุตสาหกรรม 4.0 กรณีศึกษาความคิดเห็นของบัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร JF - Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences); Vol 11 No 2 (2561): April-June 2018 KW - ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ คุณลักษณะบัณฑิต ความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต N2 -      การศึกษาการพัฒนาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแบบคุณลักษณะบัณฑิตต่อความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิตในอุตสาหกรรม 4.0 กรณีศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแบบคุณลักษณะบัณฑิตใหม่และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลโครงสร้างคุณลักษณะบัณฑิตใหม่ต่อการปรับตัวและมีความพร้อมในการทำงาน เพื่อความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิตในอุตสาหกรรม 4.0 การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่าง 329 คนจากบัณฑิตมหาวิทยาลัยนเรศวร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis with Latent Variables)      ผลการศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อตัวแบบคุณลักษณะบัณฑิตที่มีค่าความพร้อมในการทำงานส่งผลต่อความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิตในอุตสาหกรรม 4.0 พบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. ความพร้อมในการทำงาน 2. การปรับตัวในการทำงาน มีการแบ่งตัวแปรทางด้านตัวแบบคุณลักษณะบัณฑิตออกเป็น 3 ปัจจัย ซึ่งส่งผลต่อความพร้อมในการทำงาน ดังนี้ 1. สติปัญญา 2. วุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่ 3. สังคม คุณลักษณะตัวแบบทั้ง 3 ปัจจัยส่งผลต่อการปรับตัวในการทำงาน ดังนี้ 1. วุฒิภาวะ 2. สังคม และ 3. สติปัญญา สำหรับการศึกษาน้ำหนักอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อการปรับตัวในการทำงาน ความพร้อมในการทำงาน ตัวแบบคุณลักษณะบัณฑิตและอิทธิพลรวมของปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีต่อตัวแปรผลของความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต พบว่า บัณฑิตแสดงความเห็นทางด้านการปรับตัวทางด้านวุฒิภาวะส่งผลสูงสุดเพื่อสร้างความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต รองลงมา คือ สติปัญญา และสังคม ตามลำดับ ส่วนทางด้านความพร้อมในการทำงานนั้น บัณฑิตแสดงความเห็นทางด้านสติปํญญาส่งผลสูงสุดต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อสร้างความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต รองลงมา คือ วุฒิภาวะและสังคม ตามลำดับ คำสำคัญ: คุณลักษณะบัณฑิต  ความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต       The development on causal correlations character models of graduates on satisfaction of graduate users in industry 4.0: case study on graduates in Engineering faculty, Naresuan University aimed to study the development on causal relationship of character model and inspected concordance between structural character model of graduates on adaptation and readiness on working for satisfaction the graduate users in industry 4.0. This research was the quantitative research and consisted of 329 graduates from Naresuan University. The statistics for data analysis were referred to path analysis with latent variables.      The results on the notions of the samples towards the character model of graduates users in industry 4.0 were shown that 2 main elements were 1. work readiness 2. work adaptation. There were divided character models of graduates into 3 elements that influenced on work readiness as following 1. Intellection 2. Sociality 3. Intellection. The character models of graduates had 3 elements that influenced on work adaptation as following 1. Maturity 2. Social 3. Social. The result of weight direct impact, indirect impact, and total impact were studied on work adaptation, work readiness, character models of graduates of causal relationship between factors affecting to the satisfaction of graduate users shown that in term of work adaptation, maturity was the highest impact to work adaptation for supporting satisfaction of graduate users and the second was Intellection and Sociality respectively. The part of work readiness, Intellection was the highest impact to work readiness for supporting satisfaction of graduate users and the second was maturity and sociality respectively. Keywords: Character Graduates, Satisfaction of Graduate Users UR - https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1859