TY - JOUR AU - และอนุชา กอนพ่วง / Ampai Nongyao, Chonchakorn Worain and Anucha Kanpong, อำไพ นงค์เยาว์, ชนม์ชกรณ์ วรอินทร์ และ PY - 2017 TI - รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 / Model of School Administration for Developing Students’ Learning Skill in the 21st Century JF - Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences); Vol 10 No 1 (2560): January-March 2017 KW - รูปแบบการบริหารสถานศึกษา ศตวรรษที่ 21 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21; Model of School Administration, The 21st Century, Skill for Learning in the 21st Century N2 -      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินงานการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และเพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนการทดลองเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 394 คน ผู้บริหารโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี 2 คน ระยะที่ 2 ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 23 คน ระยะที่ 3 ได้แก่ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโรงเรียนบ้านหนองยาว 20 คน นักเรียน 77 คน และระยะที่ 4 ได้แก่ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนบ้านหนองยาว 20 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์เอกสาร และการบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ สถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบด้วยค่าที ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา      ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เหมาะสม ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 องค์ประกอบที่ 2 การพัฒนาบุคลากรในศตวรรษที่ 21 องค์ประกอบที่ 3 การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อการพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่า โครงสร้างขององค์ประกอบมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยด้านความเหมาะสม อรรถประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความถูกต้อง อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และผลการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจากการนำไปทดลองใช้ พบว่า รูปแบบการบริหารสถานศึกษามีความเหมาะสม มีประโยชน์ มีความเป็นไปได้ มีความถูกต้องตามกระบวนการพัฒนาเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด      The objectives of this research were to study the conditions and the operation method for making the school administration model, to try out the school administration model, and to evaluate the efficiency in using the model for development the students to have the learning skills in the 21 st century. The samples in the first phase were 394 school administrators and 2 school administrators of best practice schools. The samples in the second phase were 23 experts. The samples in the third phase were 20 Ban Nong Yao School personnel, 77 students in Ban Nong Yao School. And the samples in the fourth phase were 20 Ban Nong Yao School personnel. The data were collected by field enquiry, interview, documents analysis, and data entry. The quantitative data were analyzed by descriptive statistics; frequency distribution, percentage, means, standard deviation, median, quartiles range. T-test was used as an inferential statistic. The qualitative data were analyzed by content analysis.      The research results found that there were 3 factors in the school administration model; the first factor was school administration in the 21 st century, the second factor was the personnel development in the 21 st century, and the third factor was the learning management in the 21 st century. The result of evaluation of school administration model for development the students to have the learning skills in the 21st century revealed that the structure of factor was proper in the most level. The divided factors which were proper in the most level were the advantage, the possibility, and the accuracy. The result of efficiency evaluation of school administration model for development the students to have the learning skills in the 21st century after trying out the model showed that the model was Propriety, Utility, Feasibility, and Accuracy in the most level of development procedure of the school administration model. UR - https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1728