TY - JOUR AU - Benjateprassamee, Piyatan AU - Kongmanu, Kobsook AU - Chanunan, Skonchai PY - 2017 TI - การพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับครูคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนระดับประถมศึกษา JF - Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences); Vol 10 No 4 (2560): October-December 2017 KW - Curriculum Development, Hybrid Learning, ICT Literacy N2 -      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับครูคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับครูคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 3) เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลการใช้หลักสูตรเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 4) เพื่อประเมินหลักสูตรเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับครูคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 ท่าน โดยการเลือกแบบบอกต่อ (Snowball Sampling) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน ครูคอมพิวเตอร์ จำนวน 28 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร แบบประเมินคุณภาพหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม แบบประเมินการออกแบบ การจัดการเรียนรู้ แบบประเมินเจตคติ แบบประเมินความพึงพอใจ แบบประเมินการปฏิบัติการสอน แบบประเมินตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา       ผลการวิจัย พบว่า       1. ข้อมูลพื้นฐานสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของครูคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) ความสามารถในการสร้างสื่อ หรือเลือกใช้สื่อในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3) ทักษะการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ 4) ความสามารถในการวัดและประเมินผลการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้เรียน      2. หลักสูตรเสริมสมรรถภาพการการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับครูคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการของหลักสูตร 2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) โครงสร้างของหลักสูตร 4) เนื้อหาสาระของหลักสูตร 5) กิจกรรมการเรียนรู้ 6) ระยะเวลาในการใช้หลักสูตร 7) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 8) การวัดและประเมินผล ความเหมาะสมของหลักสูตรอยู่ในระดับมาก ( X-bar = 4.21, S.D. = 0.47) ความเหมาะสมของเอกสารประกอบหลักสูตรอยู่ในระดับมาก ( X-bar = 4.32, S.D. = 0.16) และความสอดคล้องของหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรสอดคล้องทุกรายการประเมิน      3. ครูผู้เข้ารับการอบรมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ด้านความรู้ คะแนนทดสอบหลังการอบรมของครูคอมพิวเตอร์สูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านทักษะการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เกณฑ์การผ่านร้อยละ 70 คะแนน การออกแบบการจัดการเรียนรู้ของครูอยู่ระหว่าง 25-29 คิดเป็นร้อยละ 33–96.67 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 100 ด้านเจตคติ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X-bar = 3.96, S.D. = 0.29)      4. การประเมินหลักสูตรเสริมสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับครูคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนระดับประถมศึกษาตามรูปแบบการประเมินของเคิร์กแพทริค พบว่า ปฏิกิริยาของครูคอมพิวเตอร์หลังเข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร ในระดับมาก (X-bar = 34, S.D. = 0.63) และมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการอบรม ในระดับมาก (X-bar = 4.26, S.D. = 0.60) การเรียนรู้ของครูคอมพิวเตอร์ที่เข้ารับการอบรม ด้านความรู้ อยู่ในระดับมาก (X-bar = 3.50, S.D. = 0.55) ด้านทักษะ อยู่ในระดับ มาก (X-bar = 3.57, S.D. = 0.59) และด้านเจตคติอยู่ในระดับมาก (X-bar = 4.26, S.D. = 0.64) พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูผู้เข้ารับการอบรม เกณฑ์การผ่านร้อยละ 70 ผลการประเมินผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100      The purpose of this research was to develop a hybrid learning management competency-enhancing curriculum for in-service computer teachers to promote elementary students’ information and communication technology literacy. As thus, the specific purposes of the research were 1) to study basic information for developing the curriculum, 2) to develop the curriculum and verify its quality, 3) to implement the curriculum, and 4) to evaluate the curriculum using Kirkpatrick model.      The research design employed in the study was research and development (R & D) approach which was divided into four phases. The first phase was about studying basic information for the curriculum. Data were obtained from seven experts. The second phase was about developing and verifying the quality of the curriculum using supplement ideas and suggestions from the seven experts. The curriculum was used in the pilot study with seven in-service computer teachers. The third phase was about implementing the training curriculum with the samples from 28 in-service computer teachers. The last phase was about the curriculum evaluation by using Kirkpatrick model.      The results of the research study were as follows.      1. The study of basic information for a hybrid learning management competency-enhancing curriculum is divided into four areas: 1) the ability to design hybrid learning to promote students’ information and communication technology literacy, 2) the ability to create media or select media for hybrid learning management, 3) skills of hybrid learning management, and 4) the ability to measure and evaluate students’ information and communications technology literacy.      2. The hybrid learning management competency-enhancing curriculum consisted of eight components as follows: 1) principle, 2) the aim of the course, 3) the structure of the course, 4) the content of the curriculum, 5) learning activities, 6) duration of the course, 7) media and learning resources, and 8) measurement and evaluation, the results were that the curriculum was approved in suitability by the experts at the high level (X-bar = 21, S.D. = 0.47) and feasibility at the high level (X-bar = 4.32, S.D. = 0.16).      3. The result of implementing the curriculum revealed the following results: The in-service computer teachers’ knowledge test score after the training was significantly higher than that of the before one at .05. The in-service computer teachers’ hybrid learning design skills score are between 25-29 points, representing the percentage ranged from 83.33 to 96.67, which evaluated all of the criteria and the in-service computer teachers’ attitudes after the training are, overall, at a high level (X-bar = 96, S.D. = 0.29).      4. The curriculum evaluation results by using Kirk Patrick are that: The reaction of the in-service computer teachers after training: they had a high level of satisfaction with the curriculum and the documented course (X-bar = 4.34, S.D. = 0.63) and (X-bar = 4.26, S.D. = 0.60). They had high level of knowledge (X-bar = 3.50, S.D. = 0.55), skills (X-bar = 3.57, S.D. = 0.59), and, attitudes (X-bar = 4.26, S.D. = 0.64) and the in-service computer teachers’ learning behaviors are above the criteria of percentage of 70. UR - https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1657