TY - JOUR AU - Fongjangwang, Supaksorn AU - Kongmanus, Kobsook PY - 2017 TI - การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐานด้วยภาษาจาวาสคริปต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / The Development of Blended Instructional Model by Using Cooperative Learning in Basic JavaScrip JF - Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences); Vol 10 No 4 (2560): October-December 2017 KW - รูปแบบการเรียนการสอน การเรียนรู้แบบผสมผสาน การเรียนรู้แบบร่วมมือ การเขียนโปรแกรม ภาษาจาวาสคริปต์ N2 -      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐานด้วยภาษาจาวาสคริปต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนฯ และ 3) เพื่อรับรองรูปแบบการเรียนการสอนฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพะเยาประสาธวิทย์ จังหวัดพะเยา จำนวน 25 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนฯ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินเพื่อรับรองความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และค่าดัชนีประสิทธิผล      ผลการวิจัย พบว่า      1. รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐานด้วยภาษาจาวาสคริปต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดการเรียนการสอน และ 5) การวัดและประเมินผล กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบ่งเป็น 2 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมการก่อนจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน และ 2) ขั้นจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน      2. นักเรียนมีคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนของรูปแบบการเรียนการสอนฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก      3. ผู้ทรงคุณวุฒิทำการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนฯ แล้วมีความคิดเห็นว่ารูปแบบการเรียนการสอนฯ ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก      The purposes of the research were: 1) to develop the Blended Instructional Model by Using Cooperative Learning in Basic JavaScript Language Programming for Mathayom Suksa 3 students (BL-Coop-JS-M3 model), 2) to study the effects of using the BL-Coop-JS-M3 model, and 3) to approve the BL-Coop-JS-M3 model. The samples were 25 students from Phayao Prasathvit School, Phayao, who studied in the second semester of 2015 and selected by purposive sampling. The research instruments were the BL-Coop-JS-M3 model, pretest-posttest, satisfaction questionnaire and appropriateness evaluation form. The data were statistically analyzed by mean, percentage, standard deviation, t-test, and effectiveness index.      The research findings were as follows:      1. The BL-Coop-JS-M3 model consisted of 5 components as the following: 1) principles, 2) objective, 3) contents, 4) instructional process, and 5) measurement and evaluation. The instructional processes consisted of 2 stages. The first stage is preparation stage which consisted of 4 steps and the second stage is teaching and learning stage which consisted of 8 steps.      2. The students’s posttest score were significantly higher than the pretest score at .01 significant level but not significantly higher than an expected score (75%) at .05 and the students were satisfied at a high level of satisfaction with overall of the instructional process of the BL-Coop-JS-M3 model.      3. The experts agree that a BL-Coop-JS-M3 Model was appropriate at a very good level of appropriateness. UR - https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1620