TY - JOUR AU - อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา, Unchalee Singnoi Wongwattana / PY - 2016/12/13 TI - An Approach in Encouraging and Promoting the Sustainable Learning of Tai Dam Language Wisdom / แนวทางการกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาภาษาไทดำอย่างยั่งยืน JF - Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences); Vol 9 No 3 (2559): September-December 2016 KW - ชาติพันธุ์ไทดำ ภูมิปัญญาภาษา การเรียนรู้อย่างยั่งยืน Tai Dam Ethnicity, Language Wisdom, Sustainable Learning N2 - บทคัดย่อ บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการศึกษาแนวทางในการกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาภาษาไทดำภาคเหนือตอนล่างอย่างยั่งยืน ข้อมูลการวิจัยได้จากการสำรวจและสอบถาม การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการมีส่วนร่วม ตลอดจนเอกสารท้องถิ่นและสื่อสังคมออนไลน์ในท้องถิ่นนี้ ผลการศึกษาวิจัยปรากฏว่า ชาวไทดำในภูมิภาคนี้ยังคงพูดภาษาไทดำและรักษาประเพณีปฎิบัติไว้อย่าง เข้มแข็ง อีกทั้งยังมีพลังไทดำ เช่น ชมรมไทดำท้องถิ่น กลุ่มผู้นำ และกลุ่มเยาวชน ที่ได้ดำเนินการธำรงและสืบทอดภาษาและวัฒธรรมอยู่แล้ว จึงมีความพร้อมที่จะรับการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักและวิธีการแบบวิทยาศาสตร์ในการวิจัยแบบง่าย เพื่อสามารถแก้ปัญหาท้องถิ่นได้ด้วยตนเอง วิธีการดังกล่าวนี้จะเป็นการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน แนวทางที่เป็นไปได้ในการกระตุ้นและส่งเสริมให้ ชาวไทดำได้มีการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมไทดำอย่างยั่งยืนที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถกระทำได้อย่างน้อยมีขั้นตอนหรือกิจกรรม ดังนี้ คือ การรวมพลเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมที่จะทำการระดมปัญหาและความต้องการของชุมชนเพื่อตั้งเป็นโจทย์วิจัยและวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และการสำรวจปัจจัยที่เอื้ออำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ทางภูมิปัญญาภาษา   คำสำคัญ : ชาติพันธุ์ไทดำ  ภูมิปัญญาภาษา  การเรียนรู้อย่างยั่งยืน   Abstract This research article aims to present the study of an approach in encouraging and promoting the sustainable learning of the Tai Dam language wisdom in the lower northern part of Thailand. Data has been primarily collected by surveying and inquiring, observing, in-dept interviewing, and participating, as well as from local documents and social media in this region. The results show that Tai Dam people in this region still speak Tai Dam and strongly maintain traditional practices. Moreover, there are Tai Dam strengths such as local social clubs, a group of leaders and a group of juveniles previously performing language & culture maintenance. They thus are ready to be trained in the scientific principle and methodology for conducting simple research in order to be capable to resolve local problems by themself. This will be sustainable learning of language and culture. It has been found that a possible way in encouraging and promoting the sustainable learning of the Tai Dam language wisdom which relevant government sections could be achieved, at least, includes steps or actions such as building up people strength in order to make understanding of activity objectives, brainstorming of local communities’ problems and desires in order to be set as research questions and solution mothods, and surveying of factors that could facilitate the learning management.   Keywords: Tai Dam Ethnicity, Language Wisdom, Sustainable Learning UR - https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1594