TY - JOUR AU - Pandee, Sujitra AU - Nuntaplook, Arnon PY - 2017 TI - การพัฒนาหลักสูตรการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย เพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของครูโรงเรียนปริยัติธรรม จังหวัดลำปาง JF - Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences); Vol 10 No 4 (2560): October-December 2017 KW - การพัฒนาหลักสูตร,สื่ออิเล็กทรอนิกส์,การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร N2 -      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบริบทการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย 2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายเพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูโรงเรียนปริยัติธรรม และ 3. เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายเพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูโรงเรียนปริยัติธรรม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนปริยัติธรรม 8 โรงเรียน จำนวน 26 คน ที่สนใจเข้าร่วมโครงการโดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน 2) หลักสูตรการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินความสามารถในการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ 4) แบบประเมินการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร      ผลการวิจัย พบว่า      1. บริบทของการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของครูในภาพรวมมีการปฏิบัติหรือความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.05, S.D.= 0.83) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ = 3.33, S.D.= 0.78) และด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (µ = 2.63, S.D.= 0.93)      2. หลักสูตรมีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ ระยะเวลา สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เอกสารประกอบหลักสูตร และการประเมินหลักสูตร ซึ่งนำหลักสูตรไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสม พบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสม      3. ผลการนำหลักสูตรไปใช้ พบว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ มีความสามารถผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับมาก (µ = 4.04, S.D.= 0.64) แสดงว่าผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการฯมีความเข้าใจและสามารถผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนได้และผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ มีการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูโรงเรียนปริยัติธรรมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.35, S.D.= 0.52)      The purpose of this research were to study context of development electronic media based on the eDLTV network to enhance ICT Literacy and communication, to develop training curriculum and to study the effects of using training curriculum in development electronic media based on the eDLTV network. The sampling groups were 26 teachers in 8 Prariyuttithum Schools, Lampang Province. The instruments employed in this research were the questionnaires, the training curriculum focusing on development electronic media based on the eDLTV network of teachers at Pariyattithum school in Lampang province, the ability to produce media assessment form and the ICT literacy assessment form. The data were analyzed with mean (µ) and standard deviation (S.D.). The results of this research revealed that:      1) The overall context of development electronic media was at medium level (µ = 3.05, S.D.= 0.83); the highest average scores was the development electronic media (µ = 3.33, S.D. = 0.78) while the lowest average scores was the learners’ knowledge in technology information and communication (µ = 2.63, S.D.= 0.93).      2) The elements of training curriculum were principles, objectives, structure, contents, activities, time duration, materials and learning sources and assessment and evaluation. The curriculum validity was approved before the implementation.      3) The curriculum implementation through the training program indicated that the teachers’ ability in development electronic media was at high level (µ = 4.04, S.D.= 0.64). This indicated that the teachers gained more knowledge in their development electronic media based on the eDLTV network and the teacher’ knowledge in technology information and communication was at high level = 4.35, S.D.= 0.52). UR - https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1578