%A สานิตย์ แก้ววังสัน, Sanit Kaewwangson / %D 2016 %T Risk Management for Office of the Rubber Replanting Aid Fund / การบริหารความเสี่ยงของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง %K การบริหารความเสี่ยง Risk Management %X บทคัดย่อ การศึกษา เรื่อง “การบริหารความเสี่ยงของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับสภาพและปัญหาการบริหารความเสี่ยงของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง 2) เปรียบเทียบระดับสภาพและปัญหาการบริหารความเสี่ยงตามความคิดเห็นจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เปรียบเทียบระดับสภาพและปัญหาการบริหารความเสี่ยงตามความคิดเห็นจำแนกตามปัจจัยสนับสนุน วิธีการดำเนินการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นพนักงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบ สอบถามการการบริหารความเสี่ยงของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ และวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการศึกษา พบว่า 1.  ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ตำแหน่งผู้ปฏิบัติงาน การศึกษาระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์การทำงานไม่เกิน 5 ปี และเคยได้รับการอบรมฝึกอบรมด้านบริหารความเสี่ยง สื่อสารการบริหารความเสี่ยง และใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านบริหารความเสี่ยง 2.  ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับสภาพการบริหารความเสี่ยงภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.66) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการเงินมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 3.84) และด้านการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (= 3.53) สำหรับระดับปัญหาการบริหารความเสี่ยงภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (= 2.59) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านกลยุทธ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 2.83) และด้านการเงินมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (= 2.43) 3.  ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านตำแหน่ง และประสบการณ์ต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับสภาพและปัญหาการบริหารความเสี่ยง แตกต่างกันในด้านการเงิน ส่วนปัจจัยสนับสนุน ด้านการฝึกอบรมการบริหารความเสี่ยง และการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับสภาพและปัญหาการบริหารความเสี่ยงต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับผลการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า การดำเนินงานจะมีกำหนดแผนงานโครงการที่มีความสอดคล้องกับบทบาทภารกิจ และเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจน มีการถ่ายทอดงานจากระดับนโยบายลงสู่ระดับปฏิบัติ รวมถึงระบบควบคุมติดตามความถูกต้องด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการตรวจสอบภายในในหน่วยงาน แต่อย่างไรก็ตาม ด้านการถ่ายโอนความรู้ให้กับพนักงานรุ่นใหม่ค่อนข้างน้อย ทำให้มีปัญหาเชิงการบริหารจัดการ นอกจากนี้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในบางสาขาไม่เพียงพอ   คำสำคัญ : การบริหารความเสี่ยง   Abstract The objectives of this research was to: 1) Determine the conditions and problems associated with risk management for the Office of the Rubber Replanting Aid Fund. 2) Compare the conditions and management of risk by personal factors. 3) Compare the conditions and management of risk by supporting factors. Research Methodology: The samples used in this research are the employee’s of the Foundation's Office Rubber Replanting Aid Fund of which 322 people were utilized. The questionnaires on risk management were analyzed by “T test One-way analysis of variance” and paired with the Scheffer Method as well as in-depth Interviews.          The results were as Follows. 1.  Most employees are male in the position of practitioners holding a Bachelors degree and not more than five years of work experience. They have received training in risk management, information risk management and information technology risk management. 2.  The overall state of risk management is at a high level of (= 3.66); it was found that finance has the highest average of (= 3.84) and the operations have the lowest average of (= 3.53). The issue of risk management overall is at a low level of (= 2.59) when it was found that the strategy has the highest average of (= 2.83) and finance have the lowest average (= 2.43). 3.  The hypothesis testing determined personal factors and the positions were of different opinions about the conditions and risk management issues. Differences in finance of the supporting factors of training in risk management. And the use of information technology opinion about the condition and risk management issues as well. Statistically significant at the 0.05 level for the in-depth interviews found that the operations would have set plans that are consistent with the mission. The operational goals clear, which is broadcast from the policy level. Down to a practical level the control system has an accurate tracking system and internal audit departments. However, the transfer of knowledge to the new generation of employees is relatively small. The problem-oriented management. In addition, personnel who have expertise in certain fields are not enough.   Keyword: Risk Management %U https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1444 %J Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences) %0 Journal Article %P 143-159%V 9 %N 2 %@ 2985-0231 %8 2016-08-01